พิธีชงชาของญี่ปุ่น ถือว่าเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ด้วยวิธีการชงชาที่มีความพิถีพิถัน ประณีต และเน้นให้สัมผัสแห่งสุนทรียภาพที่ดีในยามดื่ม เพื่อทำให้ชาออกมามีรสชาติกลมกล่อมและให้ประโยชน์ต่อผู้ดื่มอย่างสูงสุด วิธีการที่มีความละเอียดอ่อนสูงนี้ทำให้เกิดเป็นวิถีแห่งชาหรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกพิธีนี้ว่า “ซะโด” และ “ฉะโนะยุ” ที่คนจะชงชาในพิธีนี้ได้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนทั้งด้านฝีมือการชงชา การจดจำขั้นตอนที่แม่นยำ และการทำใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ เพื่อให้ได้ชาที่มีรสชาติเยี่ยม ทำให้ผู้ดื่มได้รสชาติแห่งชาแท้ต้นตำรับที่ไม่สามารถหาดื่มได้จากที่ไหน เพราะรสชาตินี้จะพบได้เพียงแค่ญี่ปุ่นที่เดียวเท่านั้น

เมื่อประมาณ 700 ปีที่แล้วได้มีการบันทึกลงในประวัติศาสตร์แห่งญี่ปุ่น เรื่องพิธีการชงชาที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากเอชู นักบวชของญี่ปุ่นที่ได้ไปธุดงค์ในประเทศจีนและกลับมาพร้อมกับชาเขียวรสชาติเข้มข้น จึงนำขึ้นถวายให้แก่องค์จักรพรรดิ โดยต้นกำเนิดของพิธีชงชาอย่างแท้จริงนั้นเกิดขึ้นจากประเทศจีนเป็นที่แรก เมื่อชาวญี่ปุ่นได้นำชาเขียวเข้ามาปลูกและนำมาดื่มกันอย่างแพร่หลาย จึงเกิดเป็นพิธีชงชาในแบบญี่ปุ่นขึ้นมา แต่พิธีของทางญี่ปุ่นจะเน้นเรื่องเอกลักษณ์ที่เป็นแบบเฉพาะของญี่ปุ่นแท้และนำไปผสมผสานกับพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อทำให้เกิดมนต์ขลังและกลายมาเป็นหนึ่งในพิธีอันทรงพลังของลัทธิเซนในช่วงศตวรรษที่ 16 เพราะทางลัทธิเซนได้นำพิธีการชงชามาผสมผสานเข้ากับหลักคำสอนของตัวเอง การชงชาในแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องใช้สมาธิและจิตที่เป็นกลาง เพื่อทำให้ชาออกมารสชาติดีที่สุด เมื่อพิธีชงชาของทางญี่ปุ่นผสมผสานเข้ากับพิธีกรรมทางศาสนาจึงเกิดเป็นวิถีและปรัชญาแห่งการชงชา ที่ตีความหมายในเรื่องของความสงบสุข ความคิดที่มีความสวยงาม เรียบง่าย ไม่หวือหวา โดยปรัชญานี้เองที่ทำให้พิธีชงชามีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้นและพิธีจะผ่านพ้นไปได้ด้วยความเรียบง่าย แต่ก็ทำให้ผู้ที่ร่วมภายในพิธีสัมผัสได้ถึงมนต์ขลังแห่งความเป็นพิธีกรรมทางศาสนาร่วมด้วย ส่วนวิธีในการชงชาแบบต้นตำรับญี่ปุ่นแท้ คือ
- ผู้ชงชาส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของบ้าน ดังนั้นต้องมีการแต่งกายแบบญี่ปุ่นโบราณให้เรียบร้อยและก่อนเริ่มพิธีจะต้องมีการผ่อนคลายอารมณ์ด้วยการนั่งชมสวนหรือทำสมาธิสักครู่ก่อนจะเริ่มพิธีจริง
- ห้องที่ถูกจัดเตรียมไว้เพื่อทำพิธีชงชาจะเป็นห้องสี่เหลี่ยมที่มีความสงบและถูกตกแต่งแบบเรียบง่าย อุปกรณ์ทุกชิ้นจะถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบและหยิบใช้งานง่าย พร้อมตกแต่งไปด้วยทั้งภาพวาด, ต้นไม้ขนาดเล็ก และ ใช้พื้นเสื่อแบบโบราณ เพื่อทำให้เห็นถึงความเรียบง่ายและการผสมผสานความดั้งเดิมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
- เข้าสู่พิธีชงชา ผู้ที่มารับชมการชงชาหรือเป็นผู้ที่มาเยือนจะถูกจัดให้นั่งตรงข้ามกับผู้ที่ชงชา ตรงจุดนี้คุณสามารถเลือกขนมที่วางอยู่ตรงหน้าเพื่อรับประทานคู่กับชาได้ตามที่ต้องการ การหยิบขนมมาทานจะใช้ไม้โยจิหยิบขนมแล้วนำมาวางลงบนกระดาษที่ทางเจ้าของบ้านเตรียมไว้ให้ และการทานขนมจะต้องทานให้หมดก่อนที่ชาจะมาถึง
- ผู้ชงชาจะถูกเรียกว่า “ฮันโต” จะเริ่มทำการต้มน้ำเมื่อเห็นว่าผู้มาเยือนรับประทานขนมแล้ว พร้อมกับตักผงชาเขียวที่เตรียมไว้ด้วยช้อนไม้ไผ่ลงบนถ้วยหรือภาชนะที่เตรียมไว้ ใส่น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80 องศา จากนั้นจะคนจนกว่าผงชาเขียวละลายและแตกออกเป็นฟอง ซึ่งการคนในแต่ละรอบจะมีจังหวะแบบเฉพาะตัวที่เรียกว่า “ชะเซน” เมื่อชงผสมจนเริ่มเป็นเนื้อเดียวกัน คุณจะได้รับกลิ่นชาที่หอมกระจายไปทั่วห้อง พอชงเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะวางลงด้านหน้าของผู้ที่มาเยือน
- เมื่อชามาวางอยู่ตรงหน้าแล้ว ให้คุณจับถ้วยชาด้วยมือขวาแล้วให้วางถ้วยไว้บนมือซ้าย พร้อมหมุนถ้วยชาเข้าหาตัวแบบช้าๆ เพื่อเป็นการพิจารณาความงามของถ้วยชากับรับสัมผัสความหอมของกลิ่นชาที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของพิธีนี้ ที่สำคัญคือเป็นการให้เกียรติตัวผู้ชงชาหรือเจ้าของบ้าน เมื่อคุณยกขึ้นดื่มเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ใช้มือเช็ดที่ขอบของถ้วยให้เรียบร้อย แล้วนำกระดาษที่วางรองขนมมาเช็ดมืออีกครั้ง
พิธีชงชานั้นถึงแม้จะเน้นความเรียบง่าย แต่ขั้นตอนการชงชาและการดื่มชาก็ถือว่ามีรายละเอียดสูงพอสมควร ดังนั้นถ้าคุณต้องการขนมหวานและเครื่องดื่มแบบทานง่าย สะดวก รวดเร็ว ขอแนะนำร้าน the coffee club ที่มี the coffee club menu หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มร้อน, เย็น, ปั่น, สมูทตี้, ขนมหวาน, เบเกอรี่ และกาแฟเลิศรสก็มีพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่ coffee club ถือว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์ร้านเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมและมี the coffee club bangkok menu prices ราคาเข้าถึงง่าย ไม่สูงมากจนเกินไป คุณจึงสามารถเข้าไปดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟแท้ หอมอร่อย และเบเกอรี่หรือเค้กที่ทานคู่กับเครื่องดื่มต่างๆ ภายในร้านแล้วให้รสชาติที่ดีเยี่ยมอีกด้วย